บทความ
น้ำมันมะพร้าวเขาว่าดี….ดีอย่างไร ??
น้ำมันมะพร้าว คือ น้ำมันที่ได้มาจากการสกัดแยกน้ำมันออกจากเนื้อมะพร้าว ซึ่งกรรมวิธีการสกัดนั้นมี 2 รูปแบบ คือ
การสกัดร้อน โดยน้ำมันมะพร้าวที่ได้นำมาใช้ในการประกอบอาหาร
การสกัดเย็น เหมาะสำหรับการรับประทาน บำรุงผิว เล็บ เส้นผม หรือกลั้วปากเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ขอบคุณภาพประกอบจาก : Is coconut oil good for your skin? Benefits and uses
น้ำมันมะพร้าว ณ ปัจจุบันมีหลากหลายแบรนด์ในท้องตลาด ซึ่งราคาก็ขึ้นอยู่กับปริมาณ กรรมวิธีการผลิต และคุณภาพความบริสุทธิ์ของน้ำมันมะพร้าว รวมไปถึงจุดประสงค์ที่นำมาใช้ด้วยเช่นกัน
“น้ำมันมะพร้าว” ตัวช่วยปรับสมดุลลำไส้ ขับถ่ายดี ชีวิตดี
การรับประทานน้ำมันมะพร้าวให้ได้ผล
ช่วงเช้า หรือ ก่อนนอน ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ
หรือ ใครสะดวกรับประทานเป็นแบบ capsule ซึ่งสะดวกมากๆ ในปัจจุบัน มาหลากหลายแบรนด์ให้เลือกซื้อ ก็แนะนำให้ทานครบ 1000 mg ตัวอย่างเช่น แคปซูลบรรจุ 500 mg รับประทาน 2 แคปซูล หลังการรับประทานน้ำมันมะพร้าวประมาณ 20-40 นาที เราจะมีความรู้สึกอยากถ่ายค่ะ และอาจเกิดอาการคล้ายท้องเสีย ถ่ายบ่อยอยู่ประมาณ 2-3 วัน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องตกใจค่ะ เป็นการปรับตัวของร่างกายเรา
น้ำมันมะพร้าวไม่เหมาะกับใครบ้าง
อย่างที่ทราบกันดีว่า น้ำมันมะพร้าว มีคุณประโยชน์มากมาย แต่อย่าลืมนะคะ น้ำมัน คือ ไขมัน
ไขมันในน้ำมันมะพร้าวค่อนข้างสูง อาจส่งผลให้ไขมันในร่างกายพุ่งสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นเลือกรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมและจุดประสงค์ด้วยค่ะ
หากใครที่มีโรคประจำตัวด้วยยิ่งต้องขอคำแนะนำจากคุณหมอโดยตรง
- โรคไตเสื่อม น้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะด้วย ดังนั้นอาจไม่ส่งผลดีแน่ๆถ้าหากไตของคุณต้องทำงานหนัก
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือโรคหัวใจต่างๆ เนื่องจากในน้ำมันมะพร้าวมีโพแทสเซียมค่อนข้างสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งค่ะ
เลือกซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าว
- น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นหนิง https://qherb.co.th/product/น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น/
- น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นภูตะวัน https://qherb.co.th/product/น้ำมันมะพร้าว-100-สกัดเย็น/
- น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นทรอปิคาน่า 1000 มล. https://qherb.co.th/product/tropicana-oil-1000ml
- น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นทรอปิคาน่า ชนิดแคปซูล 60 แคปซูล https://qherb.co.th/product/tropicana-oilcap/
ขอบคุณข้อมูลจาก : Is Coconut Oil Healthy?
เรียบเรียงข้อมูลโดย พท.ป.อัจจิมา พงษ์พัว